0 0
Read Time:5 Minute, 6 Second

เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น เผยคนไทยส่วนใหญ่ต้องการเปลี่ยนพฤติกรรมส่วนบุคคลใหม่
เพื่อการมีสุขภาพที่ดีขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า

​เฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น บริษัทด้านโภชนาการชั้นนำของโลก เปิดเผยผลสำรวจในหัวข้อ การสำรวจพฤติกรรมส่วนบุคคลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก พบว่า ผู้บริโภคในตลาดเอเชียแปซิฟิก 11 แห่งรวมประเทศไทย มีพฤติกรรมที่ไม่ดีต่อสุขภาพเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากความเครียด โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านสุขภาพจิตและอารมณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ส่งผลให้ 8 ใน 10 ของผู้บริโภคทั่วภูมิภาค หรือ 93% ของผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทย ต้องการเลิกพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ทำร้ายสุขภาพที่พวกเขาสร้างขึ้นในระหว่างการระบาดของโรคครั้งใหญ่ โดยมีการรับประทานอาหารที่ไม่สมดุล (59%) การนอนพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ (54%) และไม่ออกกำลังกายเป็นประจำ (49%) เป็นพฤติกรรมที่ทำร้ายสุขภาพสามอันดับแรกที่พวกเขาวางแผนจะเลิกในอีก 12 เดือนข้างหน้า


​นายสุพจน์ ฤทธิพิชัยวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เฮอร์บาไลฟ์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด กล่าวว่า “ในช่วงที่ผ่านมาพฤติกรรมของผู้บริโภคชาวไทยเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะด้านอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งนิสัยส่วนบุคคลที่ไม่ดีต่อสุขภาพเหล่านี้อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้ ดังนั้นผู้บริโภคชาวไทยส่วนใหญ่จึงตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงสู่การมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตเชิงบวกภายใน 12 เดือนข้างหน้า ซึ่งต้องอาศัยทั้งความมุ่งมั่น ความกระตือรือร้น แรงผลักดัน และการสนับสนุนจากคนที่มีแนวคิดเดียวกันในสังคม โดยล่าสุดเราได้ทำการกระตุ้นให้ผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงลักษณะนิสัยส่วนตัว พร้อมสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในเชิงบวกผ่านกิจกรรม Herbalife Nutrition 2022 Virtual Run ที่เพิ่งปิดฉากไปเมื่อเร็วๆ นี้ เพื่อส่งเสริมให้พวกเขาเคลื่อนไหวด้วยไลฟ์สไตล์ที่กระฉับกระเฉงและมีสุขภาพดี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากโภชนาการที่ดี”
​นอกจากนี้การสำรวจฯ ยังเผยให้เห็นว่าในบรรดาผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยที่ต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมส่วนบุคคลใหม่ โดยมีผลกระทบด้านลบที่บ่อยมากที่สุด ได้แก่ มีระบบภูมิคุ้มกันที่อ่อนแอลง (48%) สุขภาพกายโดยรวมแย่ลง (45%) มีระดับความแข็งแรงหรือสมรรถภาพของร่างกายที่แย่ลง (39%) และน้ำหนักเพิ่มขึ้น (31%) ซึ่งเป็นผลมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพที่ถูกนำมาใช้ในช่วงสองปีที่ผ่านมา โดยในบรรดาคนไทยที่รายงานว่าน้ำหนักเกินนั้น มากกว่าครึ่ง (54%) มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 3 ถึง 5 กิโลกรัม ในขณะที่ 28% มีน้ำหนักเพิ่มขึ้น 1 ถึง 2 กิโลกรัม ส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพมากเกินไป (71%), การกินมากเกินไปเนื่องจากความเครียด (65%), ไม่ออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวน้อย (60%), นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ (35%) และดื่มแอลกอฮอล์บ่อยขึ้น (15%)

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิต
​ด้านอาหารและโภชนาการ ผู้ตอบแบบสำรวจชาวไทยกว่า 31% มีการรับประทานของว่างบ่อยครั้งมากขึ้น และอีก 31% มีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพมากขึ้นในช่วงที่มีการระบาดใหญ่ โดยส่วนมาก (52%) มักจะรับประทานของว่างและดื่มมากขึ้นขณะดูโทรทัศน์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้บริโภคไม่แข็งแรง นอกจากนี้ผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก 6 ใน 10 คน (61%) ซึ่งในบรรดาคนกลุ่มนี้เป็นกลุ่ม Gen Z และ Millennial สูงถึง 65% หันมารับประทานอาหารเสริม-วิตามินมากขึ้นในช่วงการระบาดใหญ่ เพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันและสุขภาพพลานามัยโดยรวม ซึ่งมีจำนวนสูงขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย (83%) เวียดนาม (82%) ฟิลิปปินส์ (77%) และไทย (70%) ตามลำดับ
​ด้านการออกกำลังกาย ในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากผู้ตอบแบบสอบถามประมาณ 1 ใน 3 (33%) ออกกำลังกายมากขึ้น โดย 69% กล่าวว่าต้องการคงความแข็งแรงของร่างกายไว้เสมอ ในขณะที่อีก 33% ยอมรับว่าพวกเขาหยุดออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวน้อยลง โดยคนกลุ่มหลังนี้หลายคนอ้างว่าการเปลี่ยนแปลงนี้เกิดจากการขาดแรงจูงใจ เนื่องจากพวกเขาหมกมุ่นอยู่กับความวิตกกังวลที่เกิดจากการระบาดใหญ่มากถึง 44%
​ด้านการนอนหลับ โดยส่วนใหญ่แล้วกว่า 40% ของผู้บริโภคชาวไทยเผยว่าในช่วงของการแพร่ระบาด การนอนหลับของพวกเขาไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ในขณะที่มีกลุ่มผู้ที่ได้รับผลกระทบกว่า 31% มีรูปแบบการนอนที่ผิดปกติไปจากเดิม และอีก 30% นอนหลับไม่เพียงพอ ซึ่งคนกลุ่มหลังอ้างว่ามีความเครียดเป็นสาเหตุหลักสูงถึง 54%

การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเชิงบวกในอีก 12 เดือนข้างหน้า
​ด้วยผลกระทบของพฤติกรรมส่วนบุคคลที่ทำร้ายสุขภาพที่เห็นได้อย่างชัดเจน ส่งผลให้ผู้บริโภคชาวไทยมากกว่า 93% ตั้งใจที่จะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในเชิงบวกในอีก 12 เดือนข้างหน้าทั้งด้านสุขภาพกายและจิตใจ ซึ่งส่วนใหญ่กว่า 64% กล่าวว่าพวกเขาวางแผนที่จะปรับเปลี่ยนสุขภาพให้ดีขึ้น โดยรับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการเพิ่มมากขึ้น (70%), พัฒนาระบบการออกกำลังกาย (61%), มีความกระตือรือร้นมากขึ้น (52%), หาวิธีคลายเครียด (48%), เริ่มกำหนดเวลานอนปกติ (34%) และรับประทานอาหารเสริม (29%)

ความสำคัญของกลุ่มคนที่ช่วยสนับสนุนการสร้างนิสัยที่ดีต่อสุขภาพ
​เนื่องด้วยผู้ตอบแบบสอบถามชาวไทยกว่า 45% มองว่าตนเองมีความรู้สึกขาดแรงจูงใจในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตในเชิงบวก ดังนั้นมากกว่า 57% จึงตระหนักถึงความจำเป็นของการรวมกลุ่มเพื่อสนับสนุนในการบรรลุเป้าหมายของการมีนิสัยที่ดี โดยเฉพาะในกลุ่ม Gen Z และ Millennials ที่รู้สึกว่าการรวมกลุ่มสนับสนุนจะมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยให้พวกเขาบรรลุการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตในเชิงบวกมากถึง 60% ทั้งในด้านทำงานตามเป้าหมายและข้อกังวลร่วมกัน (59%), แบ่งปันความรู้และความเชี่ยวชาญ (57%) และรับผิดชอบและมีแรงจูงใจซึ่งกันและกัน (52%)
​ทั้งนี้การสำรวจพฤติกรรมส่วนบุคคลประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกของเฮอร์บาไลฟ์ นิวทริชั่น จัดทำและดำเนินการในเดือนสิงหาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยสำรวจผู้บริโภคจำนวน 5,500 คนที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปใน 11 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย ฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลี มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไต้หวัน ไทย และเวียดนาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้บริโภคในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และพฤติกรรมที่ทำร้ายสุขภาพที่พวกเขาวางแผนจะเลิกในอีก 12 เดือนข้างหน้า
###

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

By admin

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *