0 0
Read Time:4 Minute, 53 Second

4 มีนาคม 2568, กรุงเทพมหานคร – ดีป้า จัดใหญ่งาน Thailand Digital IP Forum 2025: Cracking IP Challenges in the AI-Driven World กิจกรรมสัมมนาที่มุ่งเผยแพร่ความรู้และสร้างความตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญาด้านดิจิทัล พร้อมส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับการขอรับสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร ตลอดจนประเด็นสำคัญที่เป็นประโยชน์ โดยมีผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้าของประเทศ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและแนวทางการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคธุรกิจดิจิทัลไทย

ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า
เป็นประธานเปิดงาน Thailand Digital IP Forum 2025 ที่มาพร้อมแนวคิด Cracking IP Challenges in the
AI-Driven World กิจกรรมสัมมนาที่มุ่งเผยแพร่ความรู้และสร้างความตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของทรัพย์สินทางปัญญาด้านดิจิทัล พร้อมส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับการขอรับสิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร ตลอดจนประเด็นสำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ ดิจิทัลสตาร์ทอัพ นักลงทุน บุคลากรทางการศึกษา และประชาชนทั่วไป โดยมีผู้เชี่ยวชาญระดับแนวหน้าของประเทศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น กรมทรัพย์สินทางปัญญา บริษัท สำนักกฎหมาย ดำเนิน สมเกียรติ และบุญมา จำกัด บริษัท อินเทลเล็คชวล ดีไซน์ กรุ๊ป จำกัด บริษัท เจทีเจบี อินเตอร์เนชั่นแนล ลอว์เยอร์ส จำกัด บริษัท ดิจิทัล คอร์ปอเรท เมเนจเม้นท์ จำกัด และ บริษัท ไอแอลซีที จำกัด ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและแนวทางการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของภาคธุรกิจดิจิทัลไทย

ผศ.ดร.ณัฐพล เปิดเผยว่า ดีป้า ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมและปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาในอุตสาหกรรมดิจิทัลมาโดยตลอด ขณะเดียวกันยังส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดการขอรับหรือยื่นจดสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาด้านดิจิทัล ทั้งในประเทศและต่างประเทศผ่านระบบ PCT เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงโอกาสในการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของตนได้อย่างเต็มที่

นอกจากนี้ ดีป้า ได้ดำเนินการจดทะเบียนตราสัญลักษณ์ dSURE สัญลักษณ์แห่งมาตรฐานระดับสากลสำหรับสินค้าหรือบริการดิจิทัลไทย โดยภายหลังจากได้รับการรับรองแล้ว ดีป้า ยังช่วยผลักดันให้เกิดการนำผลิตภัณฑ์และบริการที่ได้รับตราสัญลักษณ์ dSURE และขึ้นทะเบียนบนบัญชีบริการดิจิทัลไปใช้ ซึ่งบัญชีบริการดิจิทัลคือ กลไกรวบรวมสินค้าและบริการดิจิทัลจากผู้ประกอบการและผู้ให้บริการดิจิทัลไทยที่มีคุณสมบัติครบถ้วน เป็นไปตามข้อกำหนดด้านมาตรฐาน มีคุณภาพ ราคาสมเหตุสมผล และได้รับการรับรองด้วยตราสัญลักษณ์ dSURE เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าสู่ตลาดภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งจะนำไปสู่โอกาสการลงทุนใหม่ ๆ และสามารถต่อยอดสู่ตลาดสากล


จากนั้น ผศ.ดร.ณัฐพล ได้กล่าวในการบรรยายพิเศษในหัวข้อ เร่งเครื่องเศรษฐกิจดิจิทัลด้วยนวัตกรรม AI: ก้าวสู่อนาคตที่พลิกโฉม ว่า ปัจจุบันเทคโนโลนี AI กำลังเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจโลก อ้างอิงข้อมูลจาก Gartner บริษัทชั้นนำของโลกในการทำวิจัยและให้คำปรึกษาแก่ผู้บริหารธุรกิจ โดยคาดการณ์ว่า ภายในปี 2027 โซลูชันจาก Generative AI จะเติบโตถึง 40% ด้วยความสามารถในการเชื่อมโยงข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำให้เกิดการขยายประโยชน์และสนับสนุนการทำงานของมนุษย์ ส่งผลให้ AI กลายเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน พลิกโฉมดิจิทัลสตาร์ทอัพและ SMEs ให้เติบโตอย่างก้าวกระโดด สำหรับประเทศไทย การประยุกต์ใช้ AI ในการพัฒนาเทคโนโลยีและธุรกิจถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจและผลักดันประเทศสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ

ทั้งนี้ ผู้เข้าร่วมงาน Thailand Digital IP Forum 2025 ยังได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการส่งเสริมทรัพย์สินทางปัญญาขับเคลื่อนอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล ระหว่าง ดีป้า และ
กรมทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมรับฟังการบรรยายและเสวนาเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพย์สินทางปัญญาระดับแนวหน้าของไทย นำโดย ศ. (พิเศษ) วิชัย อริยะนันทกะ อดีตผู้พิพากษาอาวุโสศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง และที่ปรึกษาสถาบันอนุญาโตตุลาการ สำนักงานศาลยุติธรรม (TAI) โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจ ได้แก่
การแสวงหาประโยชน์ (Exploitation) จาก AI อย่างสมาร์ทบนเส้นทางทรัพย์สินทางปัญญา สิทธิบัตรด้าน AI
กับการวางกลยุทธ์เพื่อดึงดูดทุน โอกาสและความท้าทายในการเทรน AI ด้วยข้อมูลที่มีลิขสิทธิ์ ถอดรหัส Generative AI สร้างทรัพย์สินทางปัญญาบุกตลาดดิจิทัลคอนเทนต์ ระบบ PCT เป้าหมายที่เอื้อมถึงในยุคดิจิทัล และ AI กับการส่งเสริมศักยภาพทุนมนุษย์ขององค์กรธุรกิจ

นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการนำเสนอผลงานจากผู้ประกอบการด้านดิจิทัลที่ได้รับการส่งเสริมทรัพย์สิน ทางปัญญาด้านดิจิทัล ตลอดจนบูธแสดงผลงานด้าน AI จากหน่วยงานพันธมิตรที่ ดีป้า ให้การสนับสนุน บูธให้คำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญา จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา และบริษัทที่ปรึกษากฎหมายชั้นนำของประเทศ และการเปิดรับข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับหรือยื่นจดสิทธิทรัพย์สินทางปัญญาด้านดิจิทัล ซึ่งปีนี้ยังคงเปิดรับสมัครบุคคลธรรมดา รวมถึงนิติบุคคล ผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนดิจิทัลสตาร์ทอัพที่สนใจถึงวันที่ 31 มีนาคมนี้

สำหรับผู้ที่สนใจขอรับหรือยื่นจดสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล รวมถึงสาระความรู้เกี่ยวกับทรัพย์สินทางปัญญาด้านดิจิทัล สามารถติดตามรายละเอียด ข่าวสารกิจกรรมหรือโครงการต่าง ๆ ได้ทาง www.depa.or.th, Facebook Page: depa Thailand และ LINE OA: @depaThailand

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

By admin

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You missed

“กิจเจริญ เอ็นจิเนียริ่ง อีเลคทริค หรือ KJL” ลุยเปิดศักราชใหม่ด้วยไลน์ผลิตภัณฑ์ระบบไฟฟ้ารุ่นล่าสุด “Pull Box ชุบกัลวาไนซ์” ทั้งแบบเหล็กหนา 1.6 และ 1.2 มม. รับมือทุกหน้างานจากอาคารพาณิชย์ถึงโรงงานใหญ่ พร้อมตอบโจทย์ช่างมืออาชีพในยุคที่คุณภาพต้องมาก่อน รองรับตลาดระบบไฟฟ้าเติบโตต่อเนื่อง ตั้งเป้าเจาะกลุ่มลูกค้าโครงการอาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และโครงการระดับเมกะโปรเจกต์ทั่วประเทศ นายเกษมสันต์ สุจิวโรดม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กิจเจริญ เอ็นจิเนียริ่ง อีเลคทริค จำกัด (มหาชน) หรือ KJL ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าชั้นนำของประเทศไทย เปิดเผยว่า ในช่วงไรมาสแรก ปี 2568 บริษัทฯ ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ “Pull Box ชุบกัลวาไนซ์” 2 รุ่นใหม่ล่าสุด ประกอบด้วย Pull Box ชุบกัลวาไนซ์ – เหล็กหนา 1.6 มม. เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรง ทนทานเป็นพิเศษ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม หรือพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมรุนแรง กล่องผลิตจากเหล็กคุณภาพสูง เคลือบกันสนิมแบบกัลป์วาไนซ์ทั้งภายในและภายนอก Pull Box ชุบกัลวาไนซ์ – เหล็กหนา 1.2 มม. รุ่นมาตรฐานที่เน้นความคล่องตัว ติดตั้งง่าย น้ำหนักเบากว่า แต่ยังคงความแข็งแรง เหมาะสำหรับงานติดตั้งทั่วไปในโครงการ อาคารพาณิชย์ และระบบภายในอาคารทั้ง 2 รุ่นผ่านการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอน เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้า KJL ทุกชิ้นสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างแท้จริง “ผลิตภัณฑ์ใหม่นี้เป็นอีกก้าวสำคัญของ KJL ในการสร้างทางเลือกให้แก่ผู้ใช้งานระบบไฟฟ้าในทุกระดับ เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนา Pull Box ให้มีความแข็งแรง ปลอดภัย กันสนิม และติดตั้งง่าย เพื่อตอบรับความต้องการของโครงการที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ทั้งสองรุ่นดังกล่าวได้ผ่านการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และกระบวนการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้า KJL ทุกชิ้นสามารถรองรับการใช้งานจริงในทุกสภาพแวดล้อม และพร้อมวางจำหน่ายวันนี้ทั่วประเทศ” นายเกษมสันต์ กล่าว