0 0
Read Time:1 Minute, 40 Second

UR และ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แลกเปลี่ยนบันทึกความเข้าใจ (MOU)
​เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2568 องค์การพัฒนาเมืองแห่งประเทศญี่ปุ่น (Urban Renaissance Agency, UR) ได้ทำข้อตกลงแลกเปลี่ยนบันทึกความเข้าใจ (MOU) กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อร่วมมือกันในการส่งเสริมการพัฒนาเมืองในประเทศไทย ณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

(ซ้าย) ผู้ช่วยศาสตราจารย์สรายุทธ ทรัพย์สุข คณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
(ขวา) นายอิชิดะ มาซารุ ประธาน UR

มุ่งสู่การแก้ไขปัญหาเมืองและการส่งเสริมการพัฒนาเมืองรูปแบบใหม่
​องค์การพัฒนาเมืองแห่งประเทศญี่ปุ่น (Urban Renaissance Agency หรือ UR) เป็นองค์กรสาธารณะของญี่ปุ่นที่สนับสนุนด้านการพัฒนาเมือง เช่น การพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งทางราง (TOD*) ในประเทศต่าง ๆ อาทิ ออสเตรเลีย ไทย และประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยการดำเนินงานของ UR เป็นไปตาม ‘กฎหมายว่าด้วยการขยายโครงสร้างพื้นฐานในต่างประเทศ’ ซึ่งประกาศใช้ในปี 2561 โดยมีจุดประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ภาครัฐและภาคเอกชนของประเทศญี่ปุ่นมีส่วนร่วมในการพัฒนาเมืองและโครงสร้างพื้นฐานในต่างประเทศมากยิ่งขึ้น
​โดยในครั้งนี้ UR ได้แลกเปลี่ยน MOU กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษาชั้นแนวหน้าแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยติดอันดับท็อปของเอเชีย ซึ่งการแลกเปลี่ยน MOU ในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อสร้างความร่วมมือในโครงการวิจัยและพัฒนาเมืองร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการจราจรติดขัด ลดการขยายตัวของเมืองอย่างไม่เป็นระบบ และผลักดันการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน รวมถึงส่งเสริมการพัฒนาเมืองรูปแบบใหม่ โดย UR จะใช้ ‘ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่ดำเนินโครงการพัฒนาเมืองมามากกว่า 500** โครงการในประเทศญี่ปุ่น’ ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งมี ‘ความสามารถในการศึกษาวิจัย และมีความเชี่ยวชาญในด้านการพัฒนาเมืองและการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ในประเทศไทย’ นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายยังมีแผนในการร่วมมือกันจัดฟอรั่มในอนาคตอันใกล้ เพื่อเป็นก้าวแรกของความร่วมมืออีกด้วย

อาคารคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

By admin

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You missed

“กิจเจริญ เอ็นจิเนียริ่ง อีเลคทริค หรือ KJL” ลุยเปิดศักราชใหม่ด้วยไลน์ผลิตภัณฑ์ระบบไฟฟ้ารุ่นล่าสุด “Pull Box ชุบกัลวาไนซ์” ทั้งแบบเหล็กหนา 1.6 และ 1.2 มม. รับมือทุกหน้างานจากอาคารพาณิชย์ถึงโรงงานใหญ่ พร้อมตอบโจทย์ช่างมืออาชีพในยุคที่คุณภาพต้องมาก่อน รองรับตลาดระบบไฟฟ้าเติบโตต่อเนื่อง ตั้งเป้าเจาะกลุ่มลูกค้าโครงการอาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และโครงการระดับเมกะโปรเจกต์ทั่วประเทศ นายเกษมสันต์ สุจิวโรดม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กิจเจริญ เอ็นจิเนียริ่ง อีเลคทริค จำกัด (มหาชน) หรือ KJL ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าชั้นนำของประเทศไทย เปิดเผยว่า ในช่วงไรมาสแรก ปี 2568 บริษัทฯ ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ “Pull Box ชุบกัลวาไนซ์” 2 รุ่นใหม่ล่าสุด ประกอบด้วย Pull Box ชุบกัลวาไนซ์ – เหล็กหนา 1.6 มม. เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรง ทนทานเป็นพิเศษ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม หรือพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมรุนแรง กล่องผลิตจากเหล็กคุณภาพสูง เคลือบกันสนิมแบบกัลป์วาไนซ์ทั้งภายในและภายนอก Pull Box ชุบกัลวาไนซ์ – เหล็กหนา 1.2 มม. รุ่นมาตรฐานที่เน้นความคล่องตัว ติดตั้งง่าย น้ำหนักเบากว่า แต่ยังคงความแข็งแรง เหมาะสำหรับงานติดตั้งทั่วไปในโครงการ อาคารพาณิชย์ และระบบภายในอาคารทั้ง 2 รุ่นผ่านการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอน เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้า KJL ทุกชิ้นสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างแท้จริง “ผลิตภัณฑ์ใหม่นี้เป็นอีกก้าวสำคัญของ KJL ในการสร้างทางเลือกให้แก่ผู้ใช้งานระบบไฟฟ้าในทุกระดับ เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนา Pull Box ให้มีความแข็งแรง ปลอดภัย กันสนิม และติดตั้งง่าย เพื่อตอบรับความต้องการของโครงการที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ทั้งสองรุ่นดังกล่าวได้ผ่านการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และกระบวนการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้า KJL ทุกชิ้นสามารถรองรับการใช้งานจริงในทุกสภาพแวดล้อม และพร้อมวางจำหน่ายวันนี้ทั่วประเทศ” นายเกษมสันต์ กล่าว