0 0
Read Time:5 Minute, 26 Second

กรุงเทพฯ, 10 เมษายน 2568 – องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก (World Animal Protection Thailand) ประกาศความก้าวหน้าของโครงการ “ฟาร์มแชมเปี้ยน” ปีที่ 2 ซึ่งกำลังเปลี่ยนผ่านจากการทดลองนำร่องในปี 2567 สู่การขยายผลในระดับชุมชนอย่างจริงจัง โดยมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงจากระบบฟาร์มปิดแบบดั้งเดิมสู่ฟาร์มในปี 2568 นี้ หลังความสำเร็จจากฟาร์มรุ่นแรกได้พิสูจน์แล้วว่าโมเดลการเลี้ยงไก่แบบที่ใส่ใจสวัสดิภาพสัตว์สามารถทำได้จริงในบริบทไทย เพื่อปฏิวัติระบบการเลี้ยงไก่ของไทยด้วยโมเดลที่นอกจากจะให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพสัตว์ ยังตอบโจทย์ทั้งในด้านความเท่าเทียม ความเป็นธรรมและยั่งยืน ตั้งแต่เกษตรกรผู้เลี้ยง และความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


โครงการฟาร์มแชมเปี้ยนในปีแรกไม่ได้เป็นเพียงการทดลองเชิงนโยบาย แต่คือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจริงในชีวิตของเกษตรกรไทย ผลจากการเลี้ยงแสดงให้เราเห็นอย่างชัดเจน — ไก่มีสุขภาพแข็งแรงจากการไม่ต้องอยู่แบบแออัด ได้รับแสงแดดและอากาศบริสุทธิ์ ตลอดจนได้แสดงออกพฤติกรรมตามธรรมชาติ ทำให้อัตราการรอดชีวิตของไก่เพิ่มจากเฉลี่ย 95% เป็น 99% นอกจากนี้ ฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการสามารถหยุดการใช้ยาปฏิชีวนะได้แบบ 100% และมีการเพิ่มอาหารเสริมให้ไก่ด้วยแหล่งโปรตีนที่มาจากภูมิปัญญาชาวบ้าน เช่น หนอนแมลงวันลาย แหนแดง ไข่ผำ หรือสมุนไพรต่าง ๆ ทำให้เกษตรกรที่เข้าร่วมสามารถลดต้นทุนจากการใช้ยาและสารเคมีได้หลักหลายพันบาทต่อการเลี้ยงไก่หนึ่งรุ่น ขณะเดียวกัน เกษตรกรยังมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายไก่สวัสดิภาพสูงได้อีกด้วย ผลลัพธ์เหล่านี้ไม่ได้เป็นเพียงตัวเลข แต่คือหลักฐานว่าระบบฟาร์มสวัสดิภาพสูง สามารถสร้างความยั่งยืนได้ต่อทั้งคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม


ความสำเร็จจากโครงการในปีแรก ส่งแรงผลักดันให้โครงการ “ฟาร์มแชมเปี้ยน” ปีที่ 2 เดินหน้าต่ออย่างเข้มแข็ง โดยมีเป้าหมายชัดเจนในการเปลี่ยนผ่านเกษตรกรในจังหวัดสุรินทร์จากระบบฟาร์มปิด
สู่ฟาร์มแบบปล่อยอิสระหรือฟาร์มสวัสดิภาพสูงที่ออกแบบมาเพื่อปฏิวัติการเลี้ยงไก่ทั้งระบบด้วยสายพันธุ์โคราช ซึ่งแตกต่างจากในระบบอุตสาหกรรม ที่เป็นสายพันธุ์โตเร็วและเสียงต่อสวัสดิภาพหลายประการ ขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างคัดเลือกเกษตรกรที่มีจำนวนไก่เลี้ยงระหว่าง 500–1,200 ตัว เพื่อเข้าร่วมโครงการในปีที่ 2 ที่จะเริ่มต้นในเดือนมิถุนายน 2568 ควบคู่ไปกับการยกระดับเกษตรกรรุ่นแรกให้ทำหน้าที่เป็น
“พี่เลี้ยง” ถ่ายทอดประสบการณ์ตรงให้กับผู้เข้าร่วมรุ่นใหม่ เสริมสร้าง “เครือข่ายเกษตรกรชุมชนต้นแบบ” ให้แข็งแรงจากภายใน และผลักดันการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่องโดยคนในพื้นที่เอง


​แผ้ว ภิรมย์ ผู้จัดการแคมเปญระบบอาหาร องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย กล่าวว่า “จุดเปลี่ยนสำคัญในปีที่ 2 คือการสร้างระบบอาหารที่เป็นธรรมและไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง ทั้งเกษตรกร ไก่ และผู้บริโภค โดยมีชุมชนเป็นผู้ขับเคลื่อนหลัก การเลี้ยงไก่แบบสวัสดิภาพสูงไม่ใช่เพียงทฤษฎี แต่เป็นหลักปฏิบัติที่พิสูจน์แล้วว่าคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม เมื่อมีเครือข่ายและพี่เลี้ยงที่เข้าใจบริบทท้องถิ่น”
ธวัชชัย พวงจันทร์ เจ้าของพลูโตฟาร์ม หนึ่งในฟาร์มต้นแบบที่ประสบความสำเร็จสูงสุด เล่าถึงการเปลี่ยนแปลงว่า “ก่อนเข้าร่วมโครงการเราเลี้ยงไก่แบบฟาร์มระบบปิด เราใช้ยาปฏิชีวนะเวลาไก่ป่วยเพื่อแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ หลังจากเปลี่ยนมาเลี้ยงไก่ตามแนวทางสวัสดิภาพสูงในปีแรกของโครงการ เราเห็นผลลัพธ์ที่ชัดเจนในตัวไก่ที่สุขภาพแข็งแรงขึ้นจนไม่ต้องใช้ยา จุดนี้มาสัมพันธ์กับรายได้ด้วย เพราะเราลดต้นทุนยาได้ ขณะเดียวกันการขายไก่สวัสดิภาพสูงก็ขายได้ราคาดีกว่าเดิม เราเน้นคุณภาพ ไม่เน้นปริมาณ และเราหันมาใส่ใจกับสวัสดิภาพสัตว์มากขึ้น ปีนี้เรายินดีที่ได้เป็นพี่เลี้ยง ถ่ายทอดประสบการณ์ให้รุ่นใหม่ เพราะเราอยากเห็นทั้งจังหวัดได้เดินไปพร้อมกันในทิศทางที่่ดีกว่าเดิม”


สมจิตร นามสว่าง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลหนองสนิทและเจ้าของสว่างรุ่งเรืองฟาร์ม กล่าวเสริมว่า “การได้เป็นพี่เลี้ยงไม่ใช่แค่ช่วยสอนเรื่องเทคนิกการเลี้ยง แต่ยังช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เกษตรกรรุ่นใหม่เชื่อว่า ฟาร์มเลี้ยงไก่สวัสดิภาพสูงอยู่ได้จริง และอยู่ได้อย่างภาคภูมิใจ ที่สำคัญคือเราได้ร่วมกันสร้างเครือข่ายที่เข้มแข็งในชุมชนของเราเอง”
แรงสนับสนุนจากผู้บริโภค: ปัจจัยเร่งสู่ความสำเร็จ
แรงสนับสนุนจากผู้บริโภคคืออีกแรงขับเคลื่อนสำคัญที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโครงการ จากการพูดคุยกับผู้บริโภคกลุ่มใส่ใจสุขภาพในจังหวัดสุรินทร์และจังหวัดใกล้เคียง แสดงความต้องการเลือกซื้อเนื้อสัตว์จากฟาร์มที่มีสวัสดิภาพสัตว์สูง เพราะส่งผลดีทั้งกับตัวสัตว์ สุขภาพคนและสิ่งแวดล้อมด้วย
โครงการฟาร์มแชมเปี้ยนกำลังปฏิวัติระบบการเลี้ยงไก่ของไทยด้วยโมเดลที่เป็นธรรมและยั่งยืน โดยมุ่งสร้างความเท่าเทียม (Equitable) ผ่านการลดการพึ่งพาบริษัทขนาดใหญ่ เพิ่มอำนาจต่อรองให้เกษตรกรรายย่อย และกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างเป็นธรรม ควบคู่กับการคำนึงถึงหลักมนุษยธรรม (Humane) ในการเลี้ยงสัตว์ที่สอดคล้องกับพฤติกรรมธรรมชาติของไก่ ลดความเครียด และยกระดับมาตรฐานสวัสดิภาพ ซึ่งนำไปสู่การลดการใช้ยาปฏิชีวนะที่ส่งผลต่อสุขภาพมนุษย์ในระยะยาว ขณะเดียวกัน โมเดลนี้ยังตอบโจทย์ความยั่งยืน (Sustainable) ด้วยการพึ่งพาธรรมชาติมากขึ้น ลดการเบียดเบียนสิ่งแวดล้อมลงเมื่อเทียบกับฟาร์มอุตสาหกรรม สะท้อนวิสัยทัศน์ของการเกษตรแห่งอนาคตที่มุ่งใช้ไก่สายพันธุ์พื้นเมืองลูกผสมสายพันธุ์โตช้าอย่างไก่โคราชแทนไก่สายพันธุ์เร่งโตในระบบอุตสาหกรรม เป็นการผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับนวัตกรรมการเกษตรสมัยใหม่ เพื่อสร้างระบบอาหารที่สมดุลทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม


เกี่ยวกับโครงการฟาร์มแชมเปี้ยนโมเดล
โครงการใหม่นี้ริเริ่มโดยองค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรรายย่อยในประเทศไทยหันมาให้ความสำคัญกับการเลี้ยงไก่ที่เน้น “สวัสดิภาพสูง” ซึ่งเปิดโอกาสให้ไก่สามารถแสดงพฤติกรรมตามธรรมชาติได้อย่างอิสระ และใช้ชีวิตโดยมี “ความสุข” มากกว่า “ความทุกข์” ตลอดช่วงอายุขัย ทั้งนี้โครงการอยู่ภายใต้วิสัยทัศน์ขององค์กรในการสร้างการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมในระบบอาหาร โดยลดการพึ่งพิงระบบฟาร์มอุตสาหกรรมที่สร้างผลกระทบต่อคน สัตว์และสิ่งแวดล้อม และหันมาสนับสนุนฟาร์มรายย่อยตามแนวทางนิเวศเกษตร ควบคู่กับการส่งเสริมให้เกิดการกินโปรตีนที่หลากหลาย
ปัจจุบันโครงการฟาร์มแชมเปี้ยน อยู่ในปีที่ 2 โดยมีเป้าหมายในการทำให้จังหวัดสุรินทร์เป็นพื้นที่ต้นแบบ ที่สามารถต่อยอดความสำเร็จจากปีแรก และขยายโมเดลนี้เพิ่มมากขึ้น และสร้างการเข้าถึงอาหารที่ยั่งยืนและลดการพึ่งพิงเนื้อสัตว์จากอุตสาหกรรม นอกจากนี้ยังได้ทำงานร่วมกับภาคส่วนต่างๆเพื่อให้เกิดการสนับสนุนในเชิงนโยบายในการสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง

Happy
Happy
0 %
Sad
Sad
0 %
Excited
Excited
0 %
Sleepy
Sleepy
0 %
Angry
Angry
0 %
Surprise
Surprise
0 %

By admin

Average Rating

5 Star
0%
4 Star
0%
3 Star
0%
2 Star
0%
1 Star
0%

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

You missed

“กิจเจริญ เอ็นจิเนียริ่ง อีเลคทริค หรือ KJL” ลุยเปิดศักราชใหม่ด้วยไลน์ผลิตภัณฑ์ระบบไฟฟ้ารุ่นล่าสุด “Pull Box ชุบกัลวาไนซ์” ทั้งแบบเหล็กหนา 1.6 และ 1.2 มม. รับมือทุกหน้างานจากอาคารพาณิชย์ถึงโรงงานใหญ่ พร้อมตอบโจทย์ช่างมืออาชีพในยุคที่คุณภาพต้องมาก่อน รองรับตลาดระบบไฟฟ้าเติบโตต่อเนื่อง ตั้งเป้าเจาะกลุ่มลูกค้าโครงการอาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และโครงการระดับเมกะโปรเจกต์ทั่วประเทศ นายเกษมสันต์ สุจิวโรดม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กิจเจริญ เอ็นจิเนียริ่ง อีเลคทริค จำกัด (มหาชน) หรือ KJL ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายอุปกรณ์ระบบไฟฟ้าชั้นนำของประเทศไทย เปิดเผยว่า ในช่วงไรมาสแรก ปี 2568 บริษัทฯ ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ “Pull Box ชุบกัลวาไนซ์” 2 รุ่นใหม่ล่าสุด ประกอบด้วย Pull Box ชุบกัลวาไนซ์ – เหล็กหนา 1.6 มม. เหมาะสำหรับงานที่ต้องการความแข็งแรง ทนทานเป็นพิเศษ เช่น โรงงานอุตสาหกรรม หรือพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมรุนแรง กล่องผลิตจากเหล็กคุณภาพสูง เคลือบกันสนิมแบบกัลป์วาไนซ์ทั้งภายในและภายนอก Pull Box ชุบกัลวาไนซ์ – เหล็กหนา 1.2 มม. รุ่นมาตรฐานที่เน้นความคล่องตัว ติดตั้งง่าย น้ำหนักเบากว่า แต่ยังคงความแข็งแรง เหมาะสำหรับงานติดตั้งทั่วไปในโครงการ อาคารพาณิชย์ และระบบภายในอาคารทั้ง 2 รุ่นผ่านการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และควบคุมคุณภาพในทุกขั้นตอน เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้า KJL ทุกชิ้นสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานได้อย่างแท้จริง “ผลิตภัณฑ์ใหม่นี้เป็นอีกก้าวสำคัญของ KJL ในการสร้างทางเลือกให้แก่ผู้ใช้งานระบบไฟฟ้าในทุกระดับ เรามุ่งมั่นที่จะพัฒนา Pull Box ให้มีความแข็งแรง ปลอดภัย กันสนิม และติดตั้งง่าย เพื่อตอบรับความต้องการของโครงการที่มีความซับซ้อนมากขึ้น ทั้งในด้านคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัย อย่างไรก็ตาม ทั้งสองรุ่นดังกล่าวได้ผ่านการผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย และกระบวนการควบคุมคุณภาพอย่างเข้มงวด เพื่อให้มั่นใจว่าสินค้า KJL ทุกชิ้นสามารถรองรับการใช้งานจริงในทุกสภาพแวดล้อม และพร้อมวางจำหน่ายวันนี้ทั่วประเทศ” นายเกษมสันต์ กล่าว